หัวข้อ   “ นักเศรษฐศาสตร์ตั้ง KPI โครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน 2.2 ล้านล้านบาท
นักเศรษฐศาสตร์ 56.7% ค้านการออก พ.ร.บ. กู้เงิน แต่เห็นด้วยที่จะมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
พร้อมตั้ง KPI รัฐบาลโดยขีดความสามารถในการแข่งขันต้องเพิ่มจากอันดับ 38 มาอยู่ที่อันดับ 30 ภายใน 7 ปี
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจ
ความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 33 แห่ง จำนวน 60 คน เรื่อง
นักเศรษฐศาสตร์ตั้ง KPI โครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน 2.2
ล้านล้านบาท
”  โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 13 – 18 มี.ค. ที่ผ่านมา พบว่า
 
                 นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 56.7 อยากให้รัฐบาลดำเนินการลงทุน
ด้วยวิธีการอื่นๆ มากกว่าการออก พ.ร.บ. กู้เงิน
เนื่องจากเป็นห่วงในปัญหาต่างๆ
ที่อาจจะเกิดขึ้น ขณะที่ร้อยละ 25.0 เห็นว่าการดำเนินการด้วยการออก พ.ร.บ. กู้เงิน
เป็นวิธีการที่เหมาะสมแล้ว แม้ว่าอาจนำมาซึ่งปัญหาต่างๆ บ้างแต่ก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย
หรือ ทำไปตามกรอบเดิมๆ หรือตามกรอบงบประมาณที่มี
 
                 ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นว่าการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานใน
ระยะ 7 ปีข้างหน้าเป็นโครงการที่ดีและมีประโยชน์ กล่าวคือ นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ
96.6 ยืนยันถึงความจำเป็นที่จะต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสร้างความได้เปรียบรองรับการเปิด AEC
และร้อยละ 81.6 เห็นว่าสภาพเศรษฐกิจและตลาดการเงินในปัจจุบันถึง 7 ปีข้างหน้าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม
ในการระดมทุนเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
 
                 ส่วนสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์มองว่าเป็นปัญหาสำหรับการออก พ.ร.บ. กู้เงิน คือ ปัญหาหนี้สาธารณะและปัญหา
การทุจริตคอร์รัปชั่น โดยในส่วนของปัญหาหนี้สาธารณะนั้น ร้อยละ 60.0 เห็นว่าเป็นสิ่งที่น่ากังวล เนื่องจากหนี้
สาธารณะอาจเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60 ต่อจีดีพี หากประเทศเจอวิกฤติเศรษฐกิจหรือฟองสบู่แตก รวมถึงรัฐบาลอาจขาดสภาพ
คล่องเนื่องจากต้องใช้จ่ายในโครงการ(ประชานิยม)อื่นๆร่วมด้วย ขณะที่ร้อยละ 21.7 เห็นว่าไม่น่าเป็นกังวล เพราะ สัดส่วน
หนี้สาธารณะต่อจีดีพียังต่ำอีกทั้งเป็นการกู้ภายในประเทศและการลงทุนจะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวจะทำให้เก็บภาษี
ได้มากขึ้นและช่วยให้แข่งขันได้ดีขึ้น ในส่วนของความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลว่าจะดูแลปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นที่อาจเกิดขึ้น
ในโครงการนี้ได้ดีเพียงใดนั้น ร้อยละ 88.3 บอกว่าไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย ในจำนวนนี้ร้อยละ 48.3
เชื่อว่าคงมีการทุจริตอยู่ในระดับที่สูงกว่าโครงการทั่วไป
 
                 อย่างไรก็ดี หากมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจริงใน 7 ปีข้างหน้า นักเศรษฐศาสตร์คาดหวังว่า ผลจาก
การลงทุนจะช่วยให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศปรับเพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 38 ในปัจจุบันมาอยู่ที่
อันดับ 30  และขีดความสามารถด้านโครงสร้างพื้นฐานปรับเพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 46 มาอยู่ที่อันดับ 32 อันดับความสะดวกในการทำธุรกิจเพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 18 มาอยู่ที่อันดับ 15   ความสะดวกในด้านการค้าระหว่าง
ประเทศเพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 20 มาอยู่ที่อันดับ 16   ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีลดลงจากร้อยละ 15.2 เหลือ
ร้อยละ 13.2   และมีการกระจายรายได้ที่ดีขึ้นโดยมีค่าสัมประสิทธิ์จีนี่ลดลงจาก 0.48 เหลือ 0.46
 
                  สำหรับตัวชี้วัด (KPI) อื่นๆ ที่นักเศรษฐศาสตร์ต้องการให้รัฐบาลตั้งไว้วัดผลสัมฤทธิ์จากการลงทุน
โครงสร้างพื้นฐาน ที่สำคัญมีดังนี้
                         • รัฐบาลควรเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดความก้าวหน้าของแต่ละโครงการ การเบิกจ่ายเงิน อัตรา
                  ผลตอบแทนของโครงการ และการชำระหนี้เงินกู้อย่างสม่ำเสมอต่อสาธารณะ
                         • มีตัวชี้วัดทางสังคมที่บ่งชี้ถึงความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบทในมิติต่างๆ เช่น รายได้ต่อหัว
                  การจ้างงาน การเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราการกระจุกตัวของเมืองหลวง
                         • ได้รับการปรับเพิ่มอันดับเครดิตโดย Moodys, S&P
 
                  โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
 
             1. ความรู้สึกของนักเศรษฐศาสตร์ เมื่อรับทราบข้อมูล (ที่มากขึ้น) เกี่ยวกับการลงทุนในโครงสร้าง
                 พื้นฐานในระยะ 7 ปีข้างหน้ามูลค่าลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท


ร้อยละ
 
25.0
รู้ว่าเป็นโครงการที่ดี มีประโยชน์ แม้การลงทุนอาจนำมาซึ่งปัญหาหนี้สาธารณะ
การทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นต้น แต่มันก็ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย หรือ ทำไปตามกรอบเดิมๆ
หรือตามกรอบงบประมาณที่มี
1.7
รู้สึกเฉยๆ
56.7
รู้ว่าเป็นโครงการที่ดี มีประโยชน์ แต่เป็นห่วงในปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น
เช่น หนี้สาธารณะ การทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นต้น จึงเห็นว่าน่าจะดำเนินการ
ลงทุนด้วยวิธีอื่นๆ มากกว่าการออก พ.ร.บ.กู้เงิน
11.7
รู้สึกอื่นๆ โดยทุกคนเห็นว่าควรลงทุนแต่ให้ข้อสังเกตว่า การดำเนินโครงการอาจไม่
แล้วเสร็จใน 7 ปีตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ ควรจัดลำดับความสำคัญของโครงการ และ
ควรระบุถึงที่มาของวงเงินในแต่ละปี รวมถึงรัฐบาลต้องชี้แจ้งว่าการออกเป็น พ.ร.บ.
ดังกล่าวดีกว่าวิธีการปกติอย่างไร โดยเฉพาะในประเด็นการป้องกันการทุจริต
คอร์รัปชั่น
4.9
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
 
 
             2. ความคิดเห็นต่อประเด็นที่ว่า มีความจำเป็นมากน้อยเพียงใดที่จะต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
                 ขนาดใหญ่ในอีก 7 ปีข้างหน้า เพื่อสร้างความได้เปรียบรองรับการเปิด AEC

ร้อยละ
 
48.3
มีความจำเป็นมาก
48.3
ค่อนข้างมีความจำเป็น
1.7
ไม่ค่อยมีความจำเป็น
0.0
ไม่มีความจำเป็น
1.7
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
 
 
             3. ความคิดเห็นต่อประเด็นที่ว่า สภาพเศรษฐกิจและตลาดการเงินในปัจจุบันถึง 7 ปีข้างหน้า
                 เอื้อต่อการระดมทุนเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่มากน้อยเพียงใด

ร้อยละ
 
23.3
คิดว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมมาก
58.3
คิดว่าเป็นช่วงเวลาที่ค่อนข้างเหมาะสม
13.3
คิดว่าเป็นช่วงเวลาที่ไม่ค่อยเหมาะสม
0.0
คิดว่าเป็นช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม
5.1
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
 
 
             4. ความคิดเห็นต่อประเด็นที่ว่า หลังการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน หนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นจาก
                 การลงทุนดังกล่าวน่าเป็นกังวลมากน้อยเพียงใด

ร้อยละ
 
21.7
ไม่น่าเป็นกังวล เพราะ สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพียังต่ำ/เป็นการกู้ภายในประเทศ/
จะมีผลตอบแทนที่คุ้มค่า การผลิตมีประสิทธิภาพขึ้น/ช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัว/
เก็บภาษีได้มากขึ้น/ช่วยให้แข่งขันได้ดีขึ้น
60.0
น่าเป็นกังวล เพราะ หนี้สาธารณะอาจเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60 ต่อจีดีพีหากเจอ
วิกฤติเศรษฐกิจหรือฟองสบู่แตก/รัฐอาจขาดสภาพคล่องจากโครงการอื่นๆ
ร่วมด้วย/ การตรวจสอบและป้องกันการคอร์รัปชั่นยังไม่ชัดเจน/ปัญหา
เศรษฐกิจโลกยังมี/ เครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจจะน้อยลงหากเจอ
วิกฤติ /ผลตอบแทนอาจไม่คุ้มค่าการลงทุน ระยะเวลาคืนทุนนาน / GDP
อาจเพิ่มไม่มาก
18.3
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
 
 
             5. ความเชื่อมั่นของนักเศรษฐศาสตร์ต่อรัฐบาลที่จะดูแลปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นที่อาจเกิดขึ้นใน
                 โครงการนี้

ร้อยละ
 
0.0
เชื่อมั่นว่ารัฐบาลสามารถลดปัญหาการทุจริตได้เป็นอย่างดี
5.0
ค่อนข้างเชื่อมั่นว่าโครงการนี้จะมีการทุจริตที่น้อยกว่าโครงการทั่วไป
40.0
ไม่ค่อยเชื่อมั่น และคิดว่าคงมีการทุจริตเหมือนโครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้น
48.3
ไม่เชื่อมั่นเลย และคิดว่าคงมีการทุจริตอยู่ในระดับที่สูงกว่าโครงการทั่วไป
6.7
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
 
 
             6. เมื่อดำเนินการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแล้วเสร็จใน 7 ปี ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย
                 ควรอยู่ที่อันดับเท่าไรในภาพรวม และอยู่ในอันดับที่เท่าใดด้านโครงสร้างพื้นฐาน (ใช้ข้อมูล
                 การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของ WEF จากการจัดอันดับทั้งหมด 144 ประเทศ
                 ทั่วโลก)
 
    6.1   ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ในภาพรวม ควรอยู่ในช่วงอันดับ
            ที่เท่าใด
ร้อยละ
 
5.0
อันดับที่ 20 ลงมา
16.7
อันดับที่ 21 - 25
25.0
อันดับที่ 26 - 30
30.0
อันดับที่ 31 - 35
8.3
อันดับที่ 36 - 40
3.3
อันดับที่ 41 - 45
1.7
อันดับที่ 45 ขึ้นไป
10.0
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
           * ค่าเฉลี่ยอยู่ที่อันดับ 30
    หมายเหตุ : ปัจจุบันขีดความสามารถในการแข่งขันในภาพรวมของไทยอยู่ที่อันดับ 38 จาก 144
                   ประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็นอันดับที่ต่ำกว่าสิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน

    6.2   ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในด้านโครงสร้างพื้นฐานควรอยู่
            ในช่วงอันดับที่เท่าใด
ร้อยละ
 
8.3
อันดับที่ 20 ลงมา
10.0
อันดับที่ 21 - 25
20.0
อันดับที่ 26 - 30
18.3
อันดับที่ 31 - 35
21.7
อันดับที่ 36 - 40
11.7
อันดับที่ 41 - 45
10.0
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
           * ค่าเฉลี่ยอยู่ที่อันดับ 32
    หมายเหตุ : ปัจจุบันขีดความสามารถในการแข่งขันในด้านโครงสร้างพื้นฐานของไทยอยู่ที่อันดับ
                   46 จาก 144 ประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็นอันดับที่ต่ำกว่าสิงคโปร์ และมาเลเซีย
 
 
             7. เมื่อดำเนินการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแล้วเสร็จใน 7 ปีข้างหน้า อันดับความสะดวกในการทำ
                 ธุรกิจของประเทศไทย (หรือ Ease of doing business ซึ่งจัดอันดับโดยธนาคารโลกจาก
                 185 ประเทศ) ในภาพรวมควรอยู่ที่อันดับเท่าไร และในด้านการค้าระหว่างประเทศควรอยู่ใน
                 อันดับที่เท่าใด
 
    7.1   อันดับความสะดวกในการทำธุรกิจของประเทศไทย ในภาพรวม ควรอยู่ในช่วง
            อันดับที่เท่าใด
ร้อยละ
 
5.0
อันดับที่ 10 ลงมา
56.7
อันดับที่ 11 - 15
28.3
อันดับที่ 16 - 20
1.7
อันดับที่ 21 - 25
8.3
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
           * ค่าเฉลี่ยอยู่ที่อันดับ 15
    หมายเหตุ : ปัจจุบันอันดับความสะดวกในการทำธุรกิจของประเทศไทย ในภาพรวม อยู่ที่อันดับ 18
                   จาก 185 ประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็นอันดับที่ต่ำกว่าสิงคโปร์ มาเลเซีย

    7.2   อันดับความสะดวกในการทำธุรกิจของประเทศไทย ในด้านการค้าระหว่างประเทศ
            ควรอยู่ในช่วงอันดับที่เท่าใด
ร้อยละ
 
3.3
อันดับที่ 10 ลงมา
45.0
อันดับที่ 11 - 15
43.3
อันดับที่ 16 - 20
1.7
อันดับที่ 21 - 25
6.7
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
           * ค่าเฉลี่ยอยู่ที่อันดับ 16
    หมายเหตุ : ปัจจุบันอันดับความสะดวกในการทำธุรกิจของประเทศไทย ในด้านการค้าระหว่าง
                   ประเทศ อยู่ที่อันดับ 20 จาก 185 ประเทศทั่วโลก ซึ่งเป็นอันดับที่ต่ำกว่าสิงคโปร์
                   มาเลเซีย (อันดับความสะดวกด้านการค้าระหว่างประเทศจะเป็นการคำนวณจาก
                   จำนวนเอกสาร ระยะเวลา และต้นทุนที่ใช้ในการส่งออกและนำเข้าสินค้า)
 
 
             8. เมื่อดำเนินการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแล้วเสร็จใน 7 ปีข้างหน้า ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพี
                 ควรจะลดลงจากปัจจุบันที่ 15.2% เหลือเพียง 13.2% ตามที่รัฐบาลกำหนดเป้าหมายไว้
                 ท่านคิดเห็นอย่างไรกับเป้าหมายดังกล่าว

ร้อยละ
 
38.3
เชื่อว่าจะลดได้จริงตามที่รัฐบาลกำหนดเป้าหมายไว้
18.3
ไม่เชื่อว่าจะลดได้จริงตามเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดเป้าหมายไว้ เพราะ ประเทศไทย
ยังมีการนำเข้าพลังงานในสัดส่วนที่สูง กอร์ปกับมีความเป็นไปได้ที่โครงการจะไม่
แล้วเสร็จใน 7 ปี รวมถึงหากไม่มีการสนับสนุนให้เอกชนลดต้นทุนด้วยในทางหนึ่ง
หรือมีต้นทุนอย่างอื่นเพิ่มขึ้นมา ก็จะทำให้ต้นทุนไม่ลดลงจริงตามเป้าหมายที่วางไว้
16.7
ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีน่าจะลดได้มากกว่านี้ รัฐบาลจึงควรตั้งเป้าหมาย ไว้สูงกว่านี้
ที่ร้อยละ10-13 ต่อจีดีพี
26.7
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
* หมายเหตุ : ปัจจุบันต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีของสิงคโปร์อยู่ที่ร้อยละ 9 ต่อจีดีพี  ส่วนมาเลเซีย
                   อยู่ที่ร้อยละ 13 ต่อจีดีพี
 
 
             9. การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ในอีก 7 ปีข้างหน้าจะช่วยสร้างโอกาสและความ
                 เสมอภาคที่เท่าเทียมกันได้มากน้อยเพียงใด โดยพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์ความไม่เสมอ
                 ภาคของรายได้ (Gini coefficient) ว่าควรอยู่ในช่วงใด หลังมีการลงทุนเสร็จสิ้นใน 7 ปี
                 ข้างหน้า

ร้อยละ
 
1.7
น้อยกว่า 0.35
3.3
อยู่ในช่วง 0.36 - 0.40
20.0
อยู่ในช่วง 0.41 - 0.45
41.7
อยู่ในช่วง 0.46 - 0.50
6.7
อยู่ในช่วง 0.51 - 0.55
1.7
มากกว่า 0.56
24.9
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
* ค่าเฉลี่ยสัมประสิทธิ์อยู่ที่ 0.46
* หมายเหตุ : สัมประสิทธิ์จีนี่ เป็นเครื่องมือวัดความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ในรูปของสัดส่วน
                   ซึ่งค่าจะอยู่ระหว่าง 0 กับ 1 ยิ่งค่าเข้าใกล้ 1 มากเท่าไรแสดงว่าความไม่เท่าเทียม
                   กันของรายได้ยิ่งมีมากขึ้น โดยของไทยปัจจุบันมีค่าเท่ากับ 0.480 ซึ่งสูงกว่า
                   ประเทศฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ สหรัฐฯ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น
 
 
             10. ตัวชี้วัด (KPI) อื่นๆ ที่ต้องการให้ตั้งไว้วัดผลสัมฤทธิ์จากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน

  • ควรเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดความก้าวหน้าของแต่ละโครงการอย่างสม่ำเสมอต่อ
    สาธารณะ เช่น การเบิกจ่ายเงิน อัตราผลตอบแทนของโครงการ และการชำระหนี้เงินกู้
    เป็นต้น
  • มีตัวชี้วัดทางสังคมที่บ่งชี้ถึงความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบทในมิติต่างๆ เช่น
    รายได้ต่อหัว การจ้างงาน การเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราการกระจุกตัวของเมืองหลวง
  • ได้รับการปรับเพิ่มอันดับเครดิตโดย Moodys, S&P
  • ดัชนีคอร์รัปชั่นของโครงการหรือภาพรวมของประเทศไทยว่าลดลงมากน้อยเพียงใด
    โดยอาจดูดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นจากรายงานขององค์กรเพื่อความโปร่งใสสากล
    หรือ Transparency International
  • ระยะเวลาที่ใช้ในการขนส่งเทียบต่อระยะทาง 100 กิโลเมตร/ มีรถไฟฟ้าวิ่งข้ามภาค
    ภายใน 5 ปี
  • ปริมาณการค้าที่เพิ่มขึ้น / การเพิ่มการค้าแบบ G2G / การทำตลาดของเอกชนที่มากขึ้น
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  1. เพื่อเป็นข้อมูลให้กับรัฐบาลได้รับทราบถึงการคาดหวังของนักเศรษฐศาสตร์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์จากการ
                      ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
                  2. เพื่อเป็นข้อมูลให้กับรัฐบาลได้รับทราบถึงความกังวลใจของนักเศรษฐศาสตร์ในประเด็นต่างๆ ที่เกิดจาก
                      การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรัฐบาลจะได้นำมาปรับการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
 
กลุ่มตัวอย่าง:

                        เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
               (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใด
               อย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้
               ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปี) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจ
               ระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 33 แห่ง ได้แก่   ธนาคารแห่งประเทศไทย   สำนักงานคณะกรรมการพัฒนา
               การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง   สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
               สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์   สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา
               ประเทศไทย (TDRI)   ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง   บริษัททริสเรทติ้ง
               ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย   ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย  ธนาคารเพื่อการส่งออก
               และนำเข้าแห่งประเทศไทย  ธนาคารกรุงไทย   ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย   ธนาคารธนชาต   ธนาคารทหารไทย
               ธนาคารกรุงศรีอยุธยา   บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส  บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ   บริษัทหลักทรัพย์
               เกียรตินาคิน   บริษัทหลักทรัพย์ภัทร   บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน   บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย
               คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้   สำนักวิชาการจัดการ
               มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบาย
               สาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   คณะเศรษฐศาสตร์
               จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง   และคณะเศรษฐศาสตร์
               มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability
sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling)
และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลา
ที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  13 - 18 มีนาคม 2556
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 19 มีนาคม 2556
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
27
45.0
             หน่วยงานภาคเอกชน
21
35.0
             สถาบันการศึกษา
12
20.0
รวม
60
100.0
เพศ:    
             ชาย
31
51.7
             หญิง
29
48.3
รวม
60
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
1
1.7
             26 – 35 ปี
22
36.7
             36 – 45 ปี
17
28.2
             46 ปีขึ้นไป
19
31.7
             ไม่ระบุ
1
1.7
รวม
60
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
2
3.3
             ปริญญาโท
47
78.4
             ปริญญาเอก
11
18.3
รวม
60
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
12
20.0
             6 - 10 ปี
12
20.0
             11 - 15 ปี
11
18.3
             16 - 20 ปี
5
8.3
             ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
19
31.7
             ไม่ระบุ
1
1.7
รวม
60
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776